หลายคนคงเคยสังเกตเห็น ตามพื้นทางเท้า ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ที่มีรูปร่างเป็นปุ่มนูน และ เส้นแถบ ติดอยู่บนพื้นตามสถานที่ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทางเท้าสาธารณะ ทางเข้าหน้าอาคาร บันได ทางลาด หรือหน้าห้องน้ำ ซึ่งพื้นเหล่านี้ไม่ได้ติดเพื่อความสวยงามหรือแค่ต้องกาลวดลาย แต่มันแฝงไปด้วยความหมายเชิงสัญลักษณ์ ให้กับผู้บกพ่องทางสายตา
ที่มา… อักษรเบรลล์ สัญลักษณ์สื่อภาษาอันสากล แสงสว่างในความมืด
ปุ่มนูนบนพื้นทางเท้าเหล่านี้เกิดขึ้นโดยครูตาบอดชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) บุรุษผู้เกิดอุบัติเหตุจากพ่อของเขาทำให้ตาบอดตอนอายุ 3 ขวบ เมื่ออายุ 4 ขวบ สภาวะอาการเกิดรุนแรงขึ้นส่งผลให้ตาบอดทั้งสองข้าง ผลจากการที่มีนายทหารมาเยี่ยมที่โรงเรียนจึงสอนวิธีการส่งข่าวสารในเวลากลางคืนของทหาร เรียกว่า night-writing เป็นรหัสจุดโดยจุดทั้ง 12 จุด ซึ่งใช้งานยาก ทำให้ หลุยส์ เบรลล์ ได้คิดค้นสัญลักษณ์แทนตัวอักษรโดยออกแบบให้ใช้เพียง 6 จุด เพื่อให้สามารถวางนิ้วเดียวบนจุดเหล่านั้นและสามารถอ่านอักษรได้ง่ายขึ้น รวมถึงออกแบบจัดวางสลับตำแหน่งไปมาเป็นรหัสแทนตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ ผลจากการคิดค้นของ หลุยส์ เบรลล์ ทำให้ คนพิการทางการเห็น หรือ คนตาบอด ได้มีโอกาสสื่อสาร เรียนรู้ และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ มากยิ่งขึ้น
ในปี ค.ศ.1965 ครูโรงเรียนสอนคนตาบอดชาวญี่ปุ่นชื่อว่า Seiichi Meyaki (เซะอิชิ มิยะเกะ) เป็นนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่น ได้ใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวเพื่อคิดค้นวัสดุแผ่นทางเดินสำหรับคนตาบอด ให้มีผิวที่ต่างสัมผัส เพื่อผู้พิการทางสายตา รวมถึงเพื่อนของเขาเองที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น visual impairment สัญลักษณ์นั้นเป็นทั้งรูปแบบการเตือนและนำทาง เพื่อให้รู้ถึงอุปสรรคต่างๆ บนทางเดิน เป็น
“อุปสรรค อันตรายที่เลือนลาง เตือน ด้วยสัญลักษณ์ กระเบื้องคนตาบอด แผ่นนำทางบนทางเท้า ”
ภาพแสดง : การติดตั้งเบรลล์บล็อกเตือนบนสถานีรถไฟฟ้า เป็นสัญลักษณ์บอกพื้นที่ยืนที่ปลอดภัย
สัญญลักษณ์ปุ่มนูนบนทางเดิน หรือ บนแผ่นทางเท้า ซึ่งต่อมาเรียกว่า เบรลล์บล๊อค (Braille Block) (เซะอิชิ มิยะเกะ) สิ่งที่ ได้นำมาใช้ครั้งแรก ในปีค.ศ.1967 ในประเทศญี่ปุ่น สถานที่แรกที่ทดลองใช้งานนำมาติดตั้งคือโรงเรียนในเมืองโอกรายาม่า จนกระถึงตราบจนวันนี้ที่ สถานที่ต่างๆ ภายในประเทศ และต่างประเทศ นำไปใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงใช้ภายในประเทศไทย
“แผ่นทางเท้าสำหรับเตือนและนำทางผู้พิการทางสายตา มีกี่แบบ ?”
1.) พื้นผิวต่างสัมผัสชนิดเตือน (Warning Tactile)แบบปุ่ม จัดเรียงแบบแนวตรง จำนวน 36 ปุ่ม | |
![]() |
|
ภาพแสดง : กระเบื้องเซรามิกคนพิการ ชนิดเตือน รหัส STD-KFQ513 300x300MM. ยี่ห้อ STD TILES | |
2.) พื้นผิวต่างสัมผัสนำทาง (Guiding Tactile) แบบเส้น จำนวน 4 เส้น | |
![]() |
|
ภาพแสดง : กระเบื้องเซรามิกคนพิการ ชนิดนำทาง รหัส STD-KFT513 300x300MM. ยี่ห้อ STD TILES | |
ใช้สำหรับนำทางคนพิการทางการเห็นไปยังจุดหมายปลายทาง โดยนำทางไปสู่จุดแสดงข้อมูล แผนผังสถานที่ หรือจุดบริการข้อมูลเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก บนแผ่นมีเส้นสัมผัส หรือเรียกอีกอย่างว่าเส้นนำทางคนตาบอด
3.) พื้นผิวต่างสัมผัสชนิดเตือนเปลี่ยนทิศทาง (Positional tactile) แบบปุ่ม จัดเรียงแบบเฉียง หรือ แบบ 45 องศา จำนวน 41 ปุ่ม | |
![]() |
|
ภาพแสดง : กระเบื้องเซรามิกคนพิการ ชนิดเตือนเปลี่ยนทิศทาง รหัส STD-KFD513 300x300MM. ยี่ห้อ STD TILES | |
โดยทั้ง 3 รูปแบบ มีลักษณะจุดติดตั้ง คือ ทางขึ้นและลงของทางลาด,ทางขึ้นลงของบันได ,พื้นด้านหน้าและด้านหลังของประตูทางเข้าอาคาร ,พื้นด้านหน้าของประตูห้องน้ำ และ พื้นที่หน้าประตูลิฟต์ เป็นต้น
ชนิดเตือน ทั้งสองรูปแบบ 1) และ 3) ใช้สำหรับเตือนคนพิการทางการเห็นให้สามารถรู้เส้นทางข้างหน้าว่ามีสภาพพื้นที่เป็นเช่นไร และต้องเตรียมตัวระมัดระวังในการเดินต่อไปในเส้นทางนั้น
“เมื่อสัญลักษณ์บนทางเท้า ออกแบบเพื่อประโยชน์ ”
ไม่นานมานี้ก็มีประเด็นที่มีการพูดถึงในประเทศไทยเกี่ยวกับการติดตั้งแผ่นพื้นผิวต่างสัมผัสอย่างไม่ถูกหลัก ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตราย เช่นติดแผ่นปูพื้นผิวต่างสัมผัสไปเจอกับสิ่งกีดขวาง เช่น เสาไฟ ทางขึ้นบันไดสะพานลอย เป็นต้น สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามในการนำมาใช้งาน แต่ผู้ทำการติดตั้งยังไม่เข้าใจถึงหลักการออกแบบ ตามมาตรฐาน จะช่วยให้สามารถติดตั้งแผ่นปูพื้นผิวต่างสัมผัส บนทางเท้าได้อย่างถูกต้อง (หลักเกณฑ์การติดตั้งแผ่นปูพื้นผิวต่างสัมผัสให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด )
ภาพแสดง : การติดตั้งกระเบื้องซรามิกคนพิการ เบรลล์บล็อก
ภาพแสดง : การติดตั้งกระเบื้องยางพาราคนพิการ เบรลล์บล็อก
ภาพแสดง : การติดตั้งสแตนเลสพื้นผิวต่างสัมผัสคนพิการ เบรลล์บล็อก