การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design)
เป็นแนวความคิดสากลที่องค์การสหประชาชาติได้ พยายามเผยแพร่และส่งเสริมจากแนวความคิดเดิมเพื่อให้คนพิการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตในอาคารและสิ่งแวดล้อมตามโครงการ Promotion of Non-Handicapping Physical Environment for Disabled Persons และได้มีการพัฒนาตามลำดับเป็น Accessible Design, Adaptable Design และ Barrier Free Design ซึ่งในที่สุดก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในหลักการของการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
ศาสตราจารย์โรนัลด์ หรือ (Ronald L.Mace) จากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นสถาปนิกผู้ก่อตั้งศูนย์การออกแบบสากลที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ทแคโรไลนา เป็นผู้มีบทบาทอย่างมากไม่เพียงแต่ต่อชุมชนผู้พิการเท่านั้น ยังรวมถึงประชากรมนุษย์ทั้งหมดด้วย แต่เดิมจะมีเพียงผู้คนไม่มากนักที่ตระหนักถึงเรื่องนี้ อันสืบเนื่องจากตัวเขาเกิดมาพร้อมกับสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแต่กำเนิดเมื่ออายุ 9 ขวบเขาป่วยเป็นโรคโปลิโอ ทำให้เขาต้องใช้รถเข็นไปตลอดชีวิต ศาสตราจารย์โรนัลด์ โรนัลด์เริ่มมองเห็นอุปสรรคทั้งหมดที่ผู้พิการต้องเผชิญในทุกวันผ่านความไม่พร้อมของร่างกายและอุปสรรค ต่างๆในการใช้ชีวิตให้ได้เช่นเดียวกับคนปกติ อุปสรรคที่กล่าวถึงเริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ จากสถานที่เช่นรถเข็นไม่สามารถผ่านประตูห้องน้ำในมหาวิทยาลัยในขณะนั้นได้ ตัวเขาจะต้องถูกอุ้มขึ้นและลงบันไดเพื่อเข้าเรียน
หลังจากสำเร็จการศึกษา เขาได้ริเริ่มแนวความคิดการออกแบบที่เป็นสากลคือ การออกแบบผลิตภัณฑ์และสภาพแวดล้อมเพื่อให้ทุกคนใช้งานได้ในขอบเขตสูงสุดที่เป็นไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลงหรือออกแบบเฉพาะทาง งานออกแบบให้ผู้ใช้งานได้ไม่คำนึงถึง อายุ ความสามารถ หรือข้อจำกัดอื่นๆ หรือเรียกว่าเป็นการออกแบบสำหรับคนทุกคน โดยท่านได้เริ่มต้นทดลองออกแบบดัดแปลงของใช้ส่วนตัวของตนเอง หลังจากนั้นได้นำหลักการนี้มาใช้สำหรับการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อคนอื่นๆ ในสังคม
RON MACE Noted that minimum standards are and important part, but not the definition of universal design. His 1988 definition of universal design is quoted in several chapters “Universal Design is and approach to design that incorporates products as well as building features which, to the greatest extent possible can be used by everyone”
โรนัลด์ เชื่อว่า การคำนึงถึงมาตรฐานขั้นต่ำในการนำแนวคิดนี้มาใช้ในการออกแบบนั้นสำคัญมาก ไม่ใช่เป็นเพียงหัวข้อชื่อการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล แต่นิยามของการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลที่ศาสตราจารย์โรนัลด์ได้ให้ไว้ในปี 1988 คือ “การออกแบบเพื่อคนทั้งมวลเป็นการออกแบบที่ผลิตภัณฑ์และลักษณะต่างๆ ของอาคารที่ได้พยายามอย่างมากที่สุดที่จะทำได้ให้คนทุกคนสามารถใช้สอยได้” หลังจากนั้นทั้งหมดนี้โรนัลด์ได้ก่อตั้งศูนย์ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้พิการ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักในชื่อศูนย์การออกแบบสากลที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ทแคโรไลนา ที่โรงเรียนแห่งนี้ การวิจัยและพัฒนายังคงดำเนินต่อไปในการออกแบบสากล
“Universal Design” มีผู้แปลเป็นภาษาไทยไว้ในหลายความหมาย ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการว่าเป็น “การออกแบบที่เป็นสากล” หมายถึง การออกแบบผลิตภัณฑ์สภาพแวดล้อมโปรแกรม และบริการที่ทุกคนสามารถใช้ได้ในขอบเขตมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลงหรือออกแบบเป็นพิเศษ ทั้งนี้ในกรณีที่มีความจำเป็น “การออกแบบที่เป็นสากล” จะต้องไม่กันออกไปซึ่งอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการเฉพาะกลุ่ม
สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์ ได้ให้คำนิยามว่าคือ ” การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล ” และยังหมายถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมไปจนถึงผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย โดยไม่ต้องดัดแปลงหรือออกแบบเฉพาะ เพื่อให้คนทุกคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสภาพร่างกาย สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเสมอภาคกัน โดยองค์ประกอบและหลักการของการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรืออาคารเป็นไปตามคำจำกัดความของการออกแบบสากลนั้นจะต้องปฏิบัติตามหลักการทั้งเจ็ดประการ
องค์ประกอบและหลักการของการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล 7 ประการประกอบด้วย
1. ทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน (Equitable Use)
2. ปรับเปลี่ยนการใช้ได้ (Flexible Use)
3. ใช้งานง่าย (Simple and Intuitive Use)
4. การสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจง่าย (Perceptible Information)
5. การออกแบบที่เผื่อการใช้งานที่ผิดพลาดได้ (Tolerance for Error)
6. ใช้แรงน้อย (Low Physical Effort)
7. มีขนาดและพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเข้าถึงและใช้งาน (Size and Space for Approach and Use)
- การออกแบบที่สามารถสร้างความเท่าเทียมกันในการใช้สอยของผู้ใช้ที่ต่างวัยและต่างความสามารถเช่น การออกแบบที่จับประตูตู้เย็นที่ยาวตลอด ผู้ใช้ที่ต่างวัยสามารถใช้งานอย่างเท่าเทียมกัน
- หลีกเลี่ยงการแบ่งแยกกลุ่มผู้ใช้
- คำนึงถึงความสะดวก ปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
- งานออกแบบที่ดึงดูด น่าสนใจจากผู้ใช้ทุกกลุ่ม
ภาพที่ 1 แสดงด้ามช้อนที่เหมาะสม
ภาพตัวอย่างด้ามช้อนที่ใหญ่ หยิบจับง่าย เห็นชัดเจน ทั้งผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการกล้ามเนื้อมืออ่อนแรงทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน
ภาพที่ 2 แสดงสุขภัณฑ์ที่เหมาะสม
การจัดสุขภัณฑ์รุ่นที่เหมือนกัน แต่มีการออกแบบเสริมให้ทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน ในพื้นที่เดียวกัน แสดงถึงความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
ภาพที่ 3 แสดงบันไดทางเข้าและทางลาด
บันไดทางเข้าอาคารและทางลาดอยู่บริเวณเดียวกัน
- การออกแบบสามารถรองรับการใช้สอยจากผู้ใช้ที่หลากหลาย โดยอาจมีหลายทางเลือกที่สามารถใช้งานได้
- สะดวกทั้งการใช้งานมือขวาหรือมือซ้าย
- อำนวยความสะดวกที่ผู้ใช้สามารถปรับการใช้งานเมื่อต้องการความถูกต้องแม่นยำ
- สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามความต้องการของผู้ใช้
ภาพที่ 4 แสดงเก้าอี้ที่ปรับสำหรับรถเข็นคนพิการ
ภาพที่ 5 แสดงพาหนะที่มีทางลาดสำหรับรถเข็นคนพิการ และชั้นว่างของที่สามารถพับเก็บได้
ตัวอย่างพาหนะที่มีทางลาดสำหรับรถเข็นคนพิการและสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้
ภาพที่ 6 แสดงฝารองนั่งโถส้วม ตัวอย่างเก้าอี้อาบน้ำ
ภาพที่ 7 แสดงตัวอย่างเก้าอี้อาบน้ำ
ภาพที่ 8 แสดงตัวอย่างชั้นวางของ
- การออกแบบควรง่ายต่อการเข้าใจ โดยไม่คำนึงถึงประสบการณ์ ความรู้ ภาษา หรือระดับความชำนาญของผู้ใช้ เป็นการออกแบบที่เรียบง่าย
- ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้โดยง่าย จากสามัญสำนึก
- มีข้อแนะนำ การใช้ที่สำคัญ โดยไม่คำนึงถึงการรู้หรือไม่รู้หนังสือหรือความหลากหลายทางภาษา
ภาพที่ 9 แสดงตัวอย่างแป้นเครื่องมือที่เหมาะสม
การออกแบบแป้นตัวเลขและสัญลักษณ์ที่ใหญ่ ชัดเจน ง่ายต่อการเข้าใจ
- งานออกแบบสามารถสื่อสารข้อมูลที่จำเป็นกับผู้ใช้งานได้ โดยปราศจากข้อจำกัดของผู้มีความบกพร่องทางประสาทสัมผัส เช่น การใช้พื้นผิวต่างสัมผัสหรือสีสันที่ตัดกัน
- งานออกแบบควรมีป้ายบอกเป็นสัญลักษณ์ที่มีขนาดใหญ่ ชัดเจน สื่อความหมายเข้าใจง่าย
- มีคำแนะนำการใช้งานหลากหลายสื่อ (เช่น มีทั้งสัญลักษณ์ อักษรเบรลล์ ประกอบกัน)
ภาพที่ 10 แสดงตัวอย่างป้ายสัญลักษณ์ที่เหมาะสม
การออกแบบป้ายสัญลักษณ์ที่ใหญ่ชัดเจน สื่อความหมายเป็นที่เข้าใจง่าย
ภาพที่ 11 แสดงราวจับที่เหมาะสม
- การออกแบบควรลดอันตราย หรืออุบัติเหตุต่างๆ อันอาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ
- การออกแบบที่ป้องกันการเข้าถึงในส่วนที่เป็นอันตรายโดยมีการออกแบบการเตือนอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ เช่น มีพื้นผิวต่างสัมผัสเตือน (Warning Block) ไว้ก่อนถึงทางลาด หรือบันได 30 เซนติเมตร
- การออกแบบที่เตรียมอุปกรณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยไว้ เช่น ราวจับในที่ต่างๆ ซึ่งต้องยื่นเลยจากจุดเริ่มต้น/สิ้นสุด 30 เซนติเมตร
ภาพที่ 12 แสดงบันได ทางลาด และราวจับที่เหมาะสม
การออกแบบบันไดและทางลาดที่มีพื้นผิวต่างสัมผัสเตือนและราวจับที่ยื่นออกมาเป็นการออกแบบที่มีการเผื่อความผิดพลาดได้
ภาพที่ 13 แสดงพื้นผิวต่างสัมผัส
การออกแบบพื้นผิวต่างสัมผัสเตือน และแบบนำทาง สามารถลดอันตรายได้
ภาพที่ 14 แสดงมือจับประตู
การออกแบบมือจับประตูที่มีรูกุญแจล๊อคแบบใช้เหรียญ หมุนไขออกได้ เป็นการออกแบบที่มีการเผื่อความผิดพลาดได้
ภาพที่ 15 แสดงระบบสแกนการเข้าอาคาร
ระบบสแกนการเข้าอาคารที่มีหลากหลายวิธี ได้แก่ใช้บัตรแตะ หรือการกดรหัส หรือการสแกนลายนิ้วมือในเครื่องเดียวกัน เพราะบุคคลแต่ละคนมีข้อจำกัดที่ต่างกัน
- การออกแบบที่มีความสะดวกต่อการใช้งานง่ายด้วยท่าทางปกติ โดยใช้กำลังตามปกติไม่ออกแรงมากหรือต้องพยายามใช้งานหลายครั้ง
ภาพที่ 16 แสดงขอสับสำหรับล๊อคประตู
การออกแบบสำหรับล๊อคประตูห้องที่ใช้แรงน้อยเบาแรง ไม่ว่าสภาพแรงกายอย่างไรก็สามารถเปิดได้
ภาพที่ 17 แสดงก๊อกน้ำ
ก๊อกน้ำแบบเซ็นเซอร์ ไม่ต้องใช้แรงในการเปิดปิดเลย ส่วนก๊อกน้ำแบบก้านโยกหรือแบบปัดจะใช้แรงน้อยกว่า แบบกดหรือแบบหมุน
- ขนาดและพื้นที่ใช้งานที่เหมาะสมสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกทั้งการเอื้อม การจับต้อง โดยปราศจากเงื่อนไขของข้อจำกัดทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว
- อุปกรณ์หรือการออกแบบแบบในจุดที่สำคัญต้องสามารถมองเห็นชัดเจน ไม่ว่าจะมองขณะยืนหรือนั่งในรถเข็นคนพิการ
- มีพื้นที่ใช้งานที่เหมาะสมกับการเข้าถึงและใช้สอยโดยคำนึงถึงบุคคลทั่วไป และบุคคลที่ต้องมีผู้ดูแล หรือมีอุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ เช่น รถเข็นคนพิการ ไม้เท้า ฯลฯ
ภาพที่ 19 แสดงขนาดและพื้นที่ใช้งานที่เหมาะสม
ภาพที่ 20 แสดงขนาดและพื้นที่ใช้งานที่เหมาะสม
การติดตั้งราวจับควรห่างจากกึ่งกลางชักโครกไม่เกิน 45 เซนติเมตร และยื่นเลยจากขอบชักโครกด้านหน้า 30 เซนติเมตร ซึ่งพอดีกับการเอื้อมและราวจับด้านที่ไม่ติดผนัง ควรเป็นแบบพับขึ้นลงหรือพับข้างได้ เพราะจะทำให้มีพื้นที่สำหรับเข้าถึงชักโครกได้ ใกล้เพียงพอสำหรับการย้ายตัวเองจากเก้าอี้ล้อเลื่อนไปชักโครกได้
ภาพที่ 21 แสดงพื้นที่โล่งใต้อ่างล้างมือ
มีพื้นที่โล่งใต้อ่างล้างมือ สูงพอที่ผู้ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนเข้าถึงได้โดยไม่ติดเข่า
ภาพที่ 22 แสดงช่องทางเข้าที่เหมาะสม
ช่องทางเข้าสำหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อเลื่อนรถเข็นเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ หรือบุคคลทั่วไปที่ถือของพะรุงพะรัง ควรมีขนาดใหญ่กว่าช่องทางปกติ
แหล่งที่มา : เอกสารที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ โดย รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ชัยญาสิทธิ์ ศันสนะวีรกุล หน่วยปฏิบัติการวิจัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและคนพิการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย